การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการการใช้สื่อ
Submitted by กนกวรรณ จู้ห้อง on Thu, 11/08/2022 - 13:48
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จัดกิจกรรม FishTech Alumni Engagement #1 เดินสายโซนสตูล Topic: ทำไหร๋กันมั่ง...หลังโควิด ภายใต้ โครงการวิจัยนวัตกรรมโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงธุรกิจประมงในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันตอนล่าง
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 นายสุมาตรา แซะอาหลี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมตลาดดิจิทัล ให้แก่สมาชิกผู้ประกอบการชุมชนเพื่อขับเคลื่อน "Pakbara Village Destination" ในโครงการวิจัยนวัตกรรมโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงธุรกิจประมงในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันตอนล่าง ภายใต้ทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ประจำปี 2564
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 ผศ.ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เป็นประธานในการเปิดโครงการการพัฒนาครูผู้สอนด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ Active Learning หลักสูตรท้องถิ่นอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล สำหรับโรงเรียนชายฝั่งจังหวัดตรัง โดยมี รศ.ดร.ณัฐทิตา โรจนประศาสน์ เป็นผู้กล่าวรายงานในนามหัวหน้าโครงการ ณ ห้องเรียน C.203 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
วันที่ 6 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด (รุ่นที่ 2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการจัดการประมงและทรัพยากรชายฝั่งผ่านทางระบบ Zoom meeting โดยมี อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้บริหารภาคเอกชน เข้าร่วมโครงการดังกล่าง และหัวข้อในวันนี้ คือ ขั้นตอนการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดการวิจัย การออกแบบการวิจัย (การสุ่มตัวอย่าง)
สาขาศึกษาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จัดโครงการการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์เป็นดัชนีชี้วัดระบบนิเวศ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ชาคริยา ฉลาด รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา กล่าวเปิดโครงการ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ มทร. ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์และประยุกต์ใช้จุลินทรีย์เป็นดัชนีชี้วัดระบบนิเวศได้ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา